วันอาทิตย์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ความรู้เรื่องยา


คำแนะนำในการเก็บรักษายาในตู้เย็น



หลักการโดยทั่วไป
- ห้ามวางยาทุกชนิดไว้ที่ฝาประตูตู้เย็น
- ห้ามนำอาหารไว้ในตู้เย็นเก็บยา
- ควรมีขวดใส่น้ำวางไว้ในช่องล่างของตู้เย็น เพื่อช่วยเก็บรักษาความเย็น

การจัดเก็บวัคซีน
- เก็บไว้ด้านบนสุดของชั้นวางยาในตู้เย็น
- วัคซีนที่ไวต่อแสง (MMR, BCG) เก็บไว้ในกล่อง

การปฏิบัติกรณีไฟฟ้าดับไม่เกิน 3 ชั่วโมง
- นำขวดน้ำหรือไอซ์แพคที่แช่แข็งแล้วมาวางด้านล่าง แล้วปิดประตูตู้เย็นไว้จนกว่าไฟฟ้าจะมา

กรณีไฟดับเกิน 3 ชั่วโมง
- ถ้ามีวัคซีนให้ย้ายไปเก็บในกระติกที่มีไอซ์แพคหรือน้ำแข็งมากเพียงพอ พร้อมกับเทอร์โมมิเตอร์วัดอุณหภูมิถ้าสูงเกิน 8 C ให้เพิ่มน้ำแข็งหรือเปลี่ยนไอซ์แพค
โดย PTC Team รพ.รร.จปร. ปี 54

สรุปการเยี่ยมบ้านป้าประไพ HN 5101806 เฉพาะปัญหาเรื่องยา ครั้งที่ 1/53 (เมื่อ ส.ค.53)

ผู้เยี่ยม : (ดูปัญหาด้านยา)

1. พ.ต.หญิงลลิศา อังสิริกุล อายุรแพทย์/ ผู้เชียวชาญโรคไต
2. ร.ท.หญิงพจนา รวยลาภ เภสัชกร
3. ร.ท.หญิงกนกพร เทศนา พยาบาล
4. จ.ส.อ.นริสา ภู่ภูษิต ผู้ช่วยพยาบาล


ปัญหาด้านยาที่พบ คือ
1. คนไข้กินยาที่ออกฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาเดียวกันซ้ำซ้อน คือ
- กินทั้ง Pariet & Miracid เนื่องจากเปลี่ยน รพ.จาก มศว. มา จปร.
- กินทั้ง Micardis & Diovan ทั้งๆที่แพทย์สั่งหยุดยาแล้ว

2. ขาดยา Sifrol (ยา Antiparkinson) ที่ต้องไปรับจาก รพ.ประสาทเนื่องจากปัญหาเรื่องการเมืองเสื้อแดงบุกราชประสงค์

3. ไม่ได้กินยาบางตัวที่แพทย์สั่งตั้งแต่ มี.ค. 53 คือ Protaxos, Viatril-S, Caltrate เนื่องจากเก็บยาไว้หลายที่

4. ป้าดื่มยาสมุนไพรที่เป็นยาชูกำลังที่ลูกชายซื้อมาให้ ไซึ่งเป็นยาที่ยังไม่ได้รับเครีองหมายการขึ้นทะเบียนจาก อ.ย. ฉลากยาบอกรายละเอียดและส่วนประกอบไม่ชัดเจน

5. มีถ่ายดำมาประมาณ 3วันแล้ว


การแก้ไขปัญหาด้านยาที่ได้ดำเนินการแล้ว
1. แพทย์ off ยา Miracid ให้กินแต่ Pariet
2. Off ARBs 2 ตัวที่กินซ้ำซ้อนเหลือรายการเดียว
3. แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อรับยารักษา Parkinson ต่อเนื่องที่ รพ.ประสาท
4. ให้หยุดกินยาสมุนไพรไปก่อน
5. รวบรวมยาที่คนไข้เก็บไว้หลายที่มาอยู่ที่เดียวกัน และแยกยาที่แพทย์สั่งห้ามทานแล้วมาให้ลูกชายเก็บไว้
6. เภสัชกรรวบรวมรายการยารักษาโรคพาร์กินสัน เพื่อให้เจ้าหน้าที่หอผู้ป่วยในสามารถอธิบายยาเบื้องต้นแก่คนไข้ในและญาติได้ เนื่องจากผู้ป่วยเหล่านี้ไม่ได้รับยาจากเภสัชกรโดยตรง
ทั้งนี้รายละเอียดต่าง ๆ ติดตามได้ที่ทีม PCT & HPH


ยาที่ใช้รักษาผู้ป่วย Parkinson
( ที่มี * คือยาที่มีใน รพ.รร.จปร.)

* ACA (Artane) 2 mg (Benzhexol trihexyphenidyl)
- กินยาก่อนอาหารอย่างน้อย ½ ชม.
- ถ้าคลื่นไส้มากให้กินหลังอาหารทันที
Bromergon 2.5 mg (Parlodel bromocriptine)
- ระวังความดันตก กินแล้วอย่าพึ่งเดิน ให้นอนหรือนั่งก่อนอย่างน้อย ½ ชม.
- อาจทำให้นอนไม่หลับ
Comtan (entacapone)
- ระวังความดันตก
- ห้ามหยุดยาเองกระทันหัน
Julab (Jumex selegiline)
- อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เวียนหัว มึนงง
- อาจปวดท้อง
- ปากแห้ง คอแห้ง
Levomet (Sinemet Levodopa + carbidopa)
- กินตอนท้องว่าง
- หากคลื่นไส้อาเจียนมาก อาจให้ domperidone ช่วย
* Madopar (Levodopa + benserezide)
- กินก่อนอาหารอย่างน้อย ½ ชม. หรือหลังอาหาร 1 ชม.
- อาจทำให้คลื่นไส้ อาเจียน
- ความดันอาจตกได้
- อาจทำให้นอนไม่หลับหรือไม่อยากอาหาร
Sifrol (pramipexole)
- อาจทำให้ฝันร้าย มึนงง ปวดหัว
- อาจทำให้ท้องผูก
- นอนไม่หลับ
- ความดันตก และอาจมีอาการบวมที่ขา
Stalevo (Levodopa + carbidopa + entacapone)
- อาจทำให้คลื่นไส้ อาเจียน
- นอนไม่หลับ มึนงง
- ปวดเมื่อยตามตัว
- อาจทำให้ความดันตกได้

ยา parkinson_pharmacy department CRMA hospital _na doc. 7/53

สถิติความคลาดเคลื่อนทางยา รพ.รร.จปร. ปีงบประมาณ 2553 (2)









สถิติความคลาดเคลื่อนทางยา รพ.รร.จปร. ปีงบประมาณ 2553 (1)









วันศุกร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

คณะกรรมการบริหารยา (PTC)

๑ พ.ต.สุทธิพันธ์ ขอสุข หัวหน้า
๒ พ.ต.หญิงลลิศา อังสิริกุล รองหัวหน้า
๓ พ.อ.ยรรยงค์ อิ่มสุวรรณ กรรมการฯ
๔ พ.ท.หญิงวาสิฎฐี พุทธานนท์ กรรมการฯ
๕ พ.ต.หญิงประภาพร โกศัยสุนทร กรรมการฯ
๖ พ.ต.หญิงเสาวภา กระจ่างเมฆ กรรมการฯ
๗ ร.ท.หญิงพจนา รวยลาภ เลขาฯ



หน้าที่
๑. กำหนดนโยบาย วางแผนและดำเนินการควบคุมคุณภาพการบริหารจัดการยาใน โรงพยาบาล
๒.กำหนดระบบการจัดการด้านยาที่ปลอดภัย เหมาะสม และได้ผล พร้อมทั้งการมียาที่มีคุณภาพสูงพร้อมใช้สำหรับผู้ป่วย.
๓.กำหนดมาตรการความปลอดภัยสำหรับยาใหม่ที่มีโอกาสเกิดความคลาดเคลื่อนสูง รวมทั้งมีแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมในการขอใช้ยาที่อยู่นอกบัญชียาเมื่อจำเป็น
๔.ระบุยาซึ่งมีความเสี่ยงสูงหรือต้องมีความระมัดระวังในการใช้สูง, ออกแบบกระบวนการที่เหมาะสมปลอดภัยในการจัดหา เก็บรักษา สั่งใช้ ถ่ายทอดคำสั่ง จัดเตรียม จ่าย ให้ และติดตามกำกับยา เพื่อลดความเสี่ยงในการใช้ยาเหล่านี้
๕.กำหนดนโยบายการป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยาและเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากยา และนำสู่การปฏิบัติ. มีการตอบสนองอย่างเหมาะสมต่อเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากยาและความคลาดเคลื่อนทางยาที่เกิดขึ้นหรือที่มีโอกาสเกิดขึ้น
๖.ประเมินและปรับปรุงระบบบริหารจัดการด้านยาเปรียบเทียบกับเป้าประสงค์ของระบบ มีการทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติที่ประสบความสำเร็จและเทคโนโลยีใหม่ๆ เกี่ยวกับระบบจัดการด้านยาอย่างสม่ำเสมอ
๗.เก็บสำรองอย่างเหมาะสมและปลอดภัย เพื่อสร้างความมั่นใจว่าจะมียาใช้อย่างเพียงพอ, มีคุณภาพและความคงตัว, พร้อมใช้, ป้องกันการเข้าถึงโดยผู้ไม่มีอำนาจหน้าที่, ป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยาและผลไม่พึงประสงค์จากยา
๘.วางแผนและกำหนดให้มีการสั่งใช้ยาและการให้ยาที่ปลอดภัย ถูกต้องเหมาะสม
๙.สนับสนุนและติดตามความก้าวหน้าในการพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัย
ด้านระบบยา
๑๐. สรุปผลลัพธ์และนำเสนอผลงานคุณภาพด้านการบริหารยา